วันนั้นเป็นวันที่ 19 กันยายน 2549 ผมไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยตั้งใจไปทำธุระอื่นๆ จนกระทั่งช่วงบ่ายเริ่มมีข่าวการรัฐประหารออกมาเป็นระยะๆ และในที่สุดก็มีการประกาศรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พลตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่กำลังร่วมประชุมกับสหประชาติที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะ ผู้บัญชาการทหารบก ออกแถลงการณ์ยึดอำนาจ อ้างว่าเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ
คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 – กองทัพเข้าควบคุมพื้นที่สำคัญในกรุงเทพฯ เช่น ทำเนียบรัฐบาล และสถานีโทรทัศน์ เหตุผลหลักที่คณะปฏิวัติ (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ – คมช.) อ้างถึงคือ ปัญหาคอร์รัปชันและความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น
หลังการรัฐประหาร อาจารย์จากธรรมศาสตร์ นักวิชาการ นักศึกษา ได้ออกมาประท้วงโดยการถือป้ายและสัมภาษณ์เหตุการณ์ทางการเมืองกับสำนักข่าวต่างประเทศ วันนั้นเป็นวันที่ผมได้พบกับอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่แกจะขอลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศฝรั่งเศส





ในการประท้วงอย่างสงบในวันนั้น นักวิชาการหลายคนได้ไปที่นั่นเช่นประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์วันรัก สุวรรณวัฒนา สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์และอีกหลายๆ ท่าน
หลังรัฐประหาร คณะรัฐประหารตั้งรัฐบาลชั่วคราว และร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ขึ้นมาใหม่
การรัฐประหารครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของ ความแตกแยกทางการเมืองในไทยอย่างชัดเจน ซึ่งต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงขึ้น มีการยุบพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ทางผู้บริหารพรรค โดยศาลรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (สนับสนุนทักษิณ) และเสื้อเหลือง (กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย)
การรัฐประหารครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทย ที่ส่งผลต่อโครงสร้างอำนาจและความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างยาวนาน
ภาพถ่ายของผมใช้กล้อง Leica M6 เลนส์ Carl Ziess Biogon 35 mm/2.0 zm ฟิล์ม Foma Pan 400
Leave a reply